บทความท้างด้านเทคโนโลยีการสือสาร
เทคโนโลยีดาวเทียม
ดาวเทียม (Satellites) หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกหรือดาวเคราะห์ดวงต่าง ๆ ทำหน้าที่บันทึกภาพเก็บรวบรวมข้อมูลที่อยู่ในอวกาศ และถ่ายทอดข้อมูลเหล่านั้นมายังโลก ดาวเทียมนั้นสามารถบันทึกภาพทางอวกาศได้ดีกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งอยู่บนพื้นโลก เนื่องจากดาวเทียมลอยอยู่เหนือเมฆ ฝุ่นละออง และสสารต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวขัดขวางการจับภาพของกล้องโทรทรรศน์
การโคจรรอบโลกของดาวเทียม
ดาวเทียมส่วนมากเกือบทุกดวงถูกส่งขึ้นไปยังอวกาศด้วยจรวดโดยการลำเลียงขึ้นไป และการที่ดาวเทียมจะสามารถโคจรรอบโลกนั้นมาจากการที่ความเร็วในการเคลื่อนที่พอดีกับแรงดึงดูดของโลก ซึ่งถ้า 2 แรงนี้ไม่พอดีต่อกันจะทำให้ดาวเทียมลอยในทิศทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อย ๆ ในอวกาศหรือตกลงมาสู่พื้นโลก
วงโคจรของดาวเทียมแต่ละดวงจะต่างกันออกไปในแต่ละระดับความสูง และทำให้ความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมแต่ละดวงแตกต่างกันออกไปด้วยในแต่ละระดับความสูง รูปแบบการโคจรของดาวเทียมแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่ การเคลื่อนไปพร้อมกับความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลก และดาวเทียมที่โคจรตามแนวขั้วโลก
- ดาวเทียมที่เคลื่อนไปพร้อมกับความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลก จะเคลื่อนที่จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกของดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรของโลก ดาวเทียมเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วที่เท่ากันและทิศทางเดียวกันกับที่โลกหมุนรอบตัวเอง ซึ่งการเคลื่อนที่ในรูปแบบนี้เสมือนว่าดาวเทียมนั้นอยู่กับที่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา
- ดาวเทียมที่โคจรตามแนวขั้วโลก โดยโคจรจากขั้วโลกเหนือยังขั้วโลกใต้ โดยเมื่อโลกหมุนไปดาวเทียมที่โคจรในลักษณะนี้สามารถที่จะสแกนลักษณะของโลกได้ทีละครึ่งซีก
ส่วนประกอบของดาวเทียม
ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่เป็นเสาสำหรับรับสัญญาณและส่วนของแหล่งพลังงาน ซึ่งเสารับสัญญาณนั้นจะใช้สำหรับรับ-ส่ง ข้อมูลไปกลับจากโลก และส่วนแหล่งพลังงานนั้นจะเป็นแผ่นโซล่า (Solar Cell) หรือว่าแบตเตอรี่ โดยแผ่นโซล่านั้นจะให้พลังงานโดยการแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า
ดาวเทียมทุกดวงนั้นมีการติดตั้งกล้องถ่ายรูปและเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เพื่อผลทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วยบางครั้งดาวเทียมจะทำงานเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลทางพื้นดิน น้ำ หรืออากาศ แต่ก็มีอีกหน้าที่หนึ่ง คือ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากระบบสุริยะและจักรวาล
ดาวเทียมมีประโยชน์อย่างไร ใครรู้บ้าง ?
จากที่เราได้รู้จักดาวเทียมทั้งความหมาย การทำงาน ส่วนประกอบ ของดาวเทียมมาพอสังเขปแล้ว เรามารู้ถึงประเภทและประโยชน์ของดาวเทียมกันบ้างว่าสามารถใช้ในการทำอะไร
ประเภทของดาวเทียม (Types of Satellites) แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ดังนี้
ดาวเทียมดาราศาสตร์ (Astronomical Satellites)
เป็นดาวเทียมสำรวจดวงดาวต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลโลกสำรวจกาแล็กซี (Galaxy) รวมทั้งสำรวจวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ในอวกาศ เช่น ดาวเทียม MAGELLAN สำรวจดาวศุกร์ดาวเทียม GALILEO สำรวจดาวพฤหัส เป็นต้น
ดาวเทียมสื่อสาร (Communications Satellites)
เป็นดาวเทียมประจำที่ในอวกาศ เพื่อการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุในความถี่ไมโครเวฟ ส่วนใหญ่เป็นดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน
ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที สามารถส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า “Transponder” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก
ประโยชน์ของดาวเทียมสื่อสารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่งได้แก่ ดาวเทียม INTELSAT ดาวเทียม IRIDIUM และดาวเทียมไทยคม เป็นต้น
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (Earth observation satellites)
เป็นดาวเทียมที่ถูกออกแบบ เฉพาะเพื่อการสำรวจติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของโลกรวมไปถึงการทำแผนที่ต่าง ๆ ข้อมูลภาพที่ได้รับจากดาวเทียมสามารถปกคลุมบริเวณกว้าง สามารถใช้ในการทำแผนที่ และใช้แก้ไขเพิ่มเติมแผนที่ได้ โดยเฉพาะข้อมูลจากดาวเทียม SPOT ซึ่งมีรายละเอียดภาพสูง และสามารถดูภาพสามมิติได้
คุณสมบัติที่เหมาะสมนี้ ทำให้กรมแผนที่ทหารได้ทดลองใช้ภาพจากดาวเทียม SPOT แก้ไขแผนที่ภูมิประเทศ มาตรส่วน 1:50,000 ให้ทันสมัย ได้แก่ ดาวเทียม LANDSAT RADARSAT ALOS และ THEOS เป็นต้น
ดาวเทียมนำร่อง (Navigation satellites)
เป็นดาวเทียมนำร่องที่ใช้คลื่นวิทยุและรหัสจากดาวเทียมไปยังเครื่องรับสัญญาณบนพื้นผิวโลก สามารถหาตำแหน่งบนพื้นโลกที่ถูกต้องได้ทุกแห่งและตลอดเวลา เช่น การนำร่องจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งตามต้องการ แสดงการนำร่องของยานพาหนะต่างๆจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งตามต้องการ เช่น เครื่องบิน เรือ รถยนต์ และจักรยานยนต์ เป็นต้น
การติดตามการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งของต่างๆ แสดงการนำร่องด้วยเครื่อง GPS ในรถยนต์ แสดงเครื่อง GPS ติดกับโทรศัพท์มือถือสามารถบอกตำแหน่งได้ ได้แก่ ดาวเทียม NAVSTAR GLONASS และ GALILEO เป็นต้น
ดาวเทียมจารกรรม (Reconnaissance satellites)
เป็นดาวเทียมสำรวจความละเอียดสูง หรือดาวเทียมสื่อสารเพื่อใช้ทางกิจการทางการทหาร การจารกรรม หรือการเตือนภัยจากการโจมตีทางอากาศ ได้แก่ ดาวเทียม KEYHOLE และ LACROSSE เป็นต้น
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (Meteorological satellites)
ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพบรรยากาศโลกจากมุมสูงระยะทางไกล ทำให้มองเห็นภาพรวมของสภาพอากาศซึ่งปกคลุมเหนือพื้นผิว ตลอดจนทิศทางการเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถช่วยเตือนภัยและพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี ได้แก่ ดาวเทียม NOAA GMS และ GOES เป็นต้น
ประโยชน์ของดาวเทียม
1.ช่วยให้การติดต่อสื่อสารทางไกลง่ายขึ้น
2.การค้าการติดต่อสื่อสารทำธุรกิจค้าขายการส่งข่าวทั่วถึงกันทั่วประเทศ
3.การทหาร ใช้ในการรายงานข่าวการสำรวจตรวจสอบสภาพพื้นที่ภูมิประเทศในการฝึก
ข้อเสียของดาวเทียม
1.มีราคาแพง
2.มีเวลาหน่วง Dely time ในการส่งสันญาณ
3.ถ้าอยากชมรายการพิเศษจำเป็นต้องเสียเงินสำหรับรับชมรายการนั้น
ผลกระทบ
ความเสี่ยงจากการที่ดาวเทียมอาจเกิดความเสียหายหรือเกิดความบกพร่องในขณะที่อยู่ในวงโคจร (In-Orbit Failure)
ดาวเทียมเป็นงานสร้างทางวิศวกรรมขั้นสูง และเมื่อมีการส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรแล้วอาจได้รับความเสียหายจากการขัดข้อง
ของระบบการทำงานของดาวเทียม พายุสุริยะ หรือการชนกันระหว่างดาวเทียมกับวัตถุต่างๆ ในอวกาศ เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้
ดาวเทียมได้รับความเสียหาย โดยความสามารถในการให้บริการถ่ายทอดสัญญาณลดลงชั่วคราวหรือถาวร หรือเกิดความเสียหาย
ทั้งหมด ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการ และอาจทำให้สูญเสียลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และ/หรือสูญเสียโอกาสในการ
หาลูกค้าใหม่ในระหว่างการจัดหาดาวเทียมดวงใหม่มาให้บริการแทน อย่างไรก็ดีผู้จัดสร้างดาวเทียมได้ออกแบบให้ดาวเทียมมีคุณลักษณะ
ที่สามารถทนทานต่อผลของความเสียหายข้างต้นได้ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าความเสียหายขั้นรุนแรงจนอาจทำให้ดาวเทียมหมดสภาพ
การใช้งานจะมีความเป็นไปได้น้อยมาก แต่บริษัทฯ ก็ได้จัดเตรียมแผนการเพื่อรองรับผลเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นกับลูกค้า หากเกิด
ความเสียหายขั้นรุนแรงขึ้นกับดาวเทียมดวงใดดวงหนึ่งจนหมดสภาพการใช้งาน โดยสามารถดำเนินการให้ผู้ใช้บริการส่วนหนึ่ง ย้ายมา
ใช้ช่องสัญญาณที่ยังคงว่างอยู่ในดาวเทียมไทยคมที่เหลือ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ทำสัญญาร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่นในการเช่า
ช่องสัญญาณจากดาวเทียมอื่นชั่วคราว เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถโอนใช้งานไปได้ในระหว่างที่บริษัทฯ เร่งดำเนินการสร้างดาวเทียม
ดวงใหม่ขึ้นเพื่อทดแทน ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาประมาณ 18 – 24 เดือน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น